PDPA เลื่อนอีก 1 ปี กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค

PDPA เลื่อนอีก 1 ปี กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค

ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักการตลาดและเหล่าห้างร้านธุรกิจต่างๆ หลังจากคณะรัฐมนตรีออกประกาศพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ขยายเวลาเตรียมตัวในการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคในส่วนของการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดและการใช้ข้อมูลเกินความจำเป็น โดยคำนิยามของข้อมูลส่วนบุคคลในที่นี้ หมายถึงข้อมูลที่สามารถนำไปสู่การระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรง อย่างข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางชีวภาพ หรือทางอ้อม เช่น หมายเลขอุปกรณ์ IP address เป็นต้น แต่เดิมมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 63 ถูกเลื่อนออกไปจนถึงเดือน พ.ค. ปีหน้า

การเก็บข้อมูลลูกค้าจำเป็นแค่ไหน?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน Big Data หรือก้อนข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วระหว่างการใช้งานอินเตอร์เนตถือเป็นหัวใจสำคัญในการนำไปใช้พัฒนาธุรกิจเล็กใหญ่มากมาย อาทิเช่น นักการตลาดสามารถวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคเพื่อเข้าถึงพฤติกรรม ความสนใจ สอดคล้องกับวิธีการทางการตลาดของยุค 4.0 ที่ให้ราคากับการซื้อใจผู้บริโภครายบุคคล ได้รวดเร็วที่สุด ตรงจุดที่สุด เพื่อสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดมากที่สุด ตอบรับการมาของยุคการปฏิวัติทางดิจิทัล (Digital Disruption)

เมื่อข้อมูลกำลังมีมูลค่ามากกว่าเงิน

ข้อมูลจะมีมูลค่ามหาศาลเกินกว่าจะตีค่าเป็นเงินในอนาคตข้างหน้า ดังที่เราเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการขายข้อมูลของ Facebook ให้กับ Cambridge Analytica ประเด็นอื้อฉาวนี้นับว่าเป็นชนวนสำคัญที่ปลุกผู้คนทั่วโลกให้ออกมาตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามในแง่ของการตลาดและธุรกิจ การปกป้องข้อมูลจะยิ่งสร้างกำแพงระหว่างผู้ให้บริการและผู้บริโภค กล่าวคือความพยายามในการสร้างผลิตภัณฑ์ การให้บริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า รวมถึงการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจะทำได้ยากขึ้นนั่นเอง

คำถามคือ แล้วเราในฐานะนักการตลาด เจ้าของกิจการ หรือวงการอาชีพที่ใช้ฐานข้อมูลของผู้บริโภคในการพัฒนาธุรกิจ ควรรับมืออย่างไร?

อันดับแรกภาคธุรกิจควรรู้จัก 6 สิทธิ์พื้นฐานในการเก็บข้อมูล เพื่อทราบขอบข่ายของสิทธิ์ที่เราสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

1.การบังคับใช้ข้อมูลตามสัญญาที่ทั้งผู้ให้บริการและผู้บริโภคได้ตกลงกันไว้

2.การเก็บข้อมูลตามกฎหมายกำหนด

3.การเก็บข้อมูลสำคัญในขอบเขตที่สนใจ

4.การเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์

5.การเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางกฎหมาย

6.การเก็บข้อมูลที่ได้รับการยินยอมโดยสมบูรณ์จากผู้บริโภค

การเข้าใจสิทธิพื้นฐานข้างต้นสามารถช่วยให้เราดำเนินการเก็บข้อมูลภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายอย่างไร้ข้อกังขา

ทั้งนี้ภาคธุรกิจควรระวังการใช้ข้อมูลจากคุ้กกี้ (Cookies) ไฟล์ที่ช่วยบันทึกการเข้าชมเว็บไซต์ ที่ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลไม่ได้รับการยินยอมจากตัวบุคคล

นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังควรมองหาเครื่องมือทางการตลาด หรือกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อพัฒนาธุรกิจและสร้างโอกาสทางการค้าให้ตนเองอย่างยั่งยืนในอนาคต

 

Facebook กำลังจะเปิดให้ลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือสำหรับธุรกิจขนาดเล็กเร็วๆนี้


Facebook กำลังจะเปิดลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือสำหรับธุรกิจขนาดเล็กเร็วๆนี้


ข่าวดีสำหรับเจ้าของธุรกิจเมื่อ Facebook เสนอเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราวๆ 3200 ล้านบาทเพื่อเป็นเงินสำหรับช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลกขณะนี้ โดยโครงการนี้ได้ประกาศออกมาเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และในขณะนี้ก็ได้เปิดรับลงทะเบียนแล้วในบางพื้นที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยส่วนใหญ่ Facebook จะจ่ายให้เจ้าของธุรกิจเป็นเงินสด เพื่อนำไปชำระค่าเช่าหรือค่าแรงให้แก่พนักงาน นอกจากนั้นยังจ่ายให้ในรูปแบบของเครดิตโฆษณาบน Facebook อีกด้วย

แล้วใครกันล่ะที่จะสามารถลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้

มีธุรกิจมากถึง 300,000 ธุรกิจในกว่า 30 ประเทศที่ Facebook มีสำนักงานอยู่ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยมีเงื่อนไขในการรับสมัครดังนี้

  • มีพนักงานในบริษัทตั้งแต่ 2 คน ถึง 50 คน
  • ดำเนินธุรกิจมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  • ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19
  • บริษัทตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวหรือใกล้เคียงกับสำนักงานของ Facebook

คาดว่าโครงการนี้จะเปิดให้ลงทะเบียนในประเทศไทยในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ทาง Facebook ยังไม่ได้ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ตั้งของบริษัทที่สามารถลงทะเบียนได้ แต่เจ้าของธุรกิจก็สามารถลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารการอัพเดตจากทาง Facebook ได้ที่